โครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง
ศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง

การแบ่งกลุ่มงานของศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง
แบ่งเป็น 4 กลุ่มงานดังนี้
1.กลุ่มทอผ้า? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? 2.กลุ่มแปรรูปกระจูด
? ? ? ? ??
3.กลุ่มปักผ้าด้วยมือ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?4.กลุ่มถักโคเชต์
? ? ? ? ??
กลุ่มทอผ้า มีสมาชิก จำนวน 131 ราย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
– กลุ่มทอผ้า ม.5 บ้านเนินธัมมัง มีสมาชิก จำนวน 65 ราย
– กลุ่มทอผ้า ม.1 บ้านคงคาล้อม มีสมาชิก จำนวน 30 ราย
– กลุ่มทอผ้า ม.2 บ้านบางงู มีสมาชิก จำนวน 36 ราย
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทอผ้า ศูนย์ศิลปาชีพบ้านตรอกแค อีกจำนวน 99 ราย ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ขอน หาด อ. ชะอวด จ.นครศรีฯ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
– กลุ่มทอผ้า ม.4 บ้านตรอกแค มีสมาชิก จำนวน 39 ราย
– กลุ่มทอผ้า ม.4 บ้านเนินม่วง มีสมาชิก จำนวน 28 ราย
– กลุ่มทอผ้า ม.7 บ้านขอนหาด มีสมาชิก จำนวน 32 ราย
ประเภทที่ 1 ทางกองศิลปาชีพ สวนจิตรลดา จะจัดส่งด้ายผ้าฝ่ายมาให้กับกลุ่มสมาชิก ฯ โดยผ่านทางกองทัพภาคที่ 4 และมอบหมายให้กับชุดประสานงาน ฯ เป็นผู้แจกจ่ายให้กับสมาชิก ฯ เมื่อสมาชิก ฯ ทอเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางชุดประสานงาน ฯ จะเป็นผู้ดำเนินการรวบรวมผลิตภัณฑ์ผ้าทอทั้งหมด แล้งส่งกลับไปยังกองศิลปาชีพ สวนจิตรลดา โดยสมาชิก ฯ จะได้รับค่าตอบแทน เมตรละ 50 บาท ซึ่งทางกองศิลปาชีพ ฯ จะจัดส่งด้ายผ้าฝ่ายมาให้ปีละประมาณ 2 – 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะทอผ้าได้ครั้งละประมาณ 70 – 80 เมตร เฉลี่ยครั้งละ 3,500. – 4,000. – บาท/คน
ประเภทที่ 2 เมื่อสมาชิก ฯ ว่างเว้นจากการทอผ้าจากกองศิลปาชีพ ฯ สมาชิก ฯ จะรวบรวมเงินกันเพื่อไปซื้อด้ายจาก ต.เกาะยอ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งจะเป็นด้ายโทเรและด้ายไหมประดิษฐ์นำมาทอแล้วจำหน่ายให้กับกลุ่ม ฯ เพื่อจำหน่ายในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง ในราคาหลาละ 150 – 200 บาท ซึ่งสมาชิก ฯ จะมีรายได้เฉลี่ย คน / เดือน ประมาณ 3,000 – 3,500 บาท และปีที่ผ่านมาได้รับเงินอุดหนุนจาก อนต. 100,000 บาทเพื่อซื้อด้ายให้สมาชิกได้ใช้หมุนเวียน รายได้เฉลี่ย / คน / เดือน ประมาณ 3,000. – 3,500 . – บาท


การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 สมาชิกจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ตามแบบที่กองศิลปาชีพเมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยชุดประสานง่านเป็นผู้รวบรวมจัดส่งไปยังกองศิลปาอาชีพราคาแล้วแต่ชนิดของขนาดและความสวยงามของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ลักษณะที่ 2 เมื่อว่างเว้นจากการปฏิบัติงานของกองศิลปาชีพแล้วสมาชิกจะแปรรูปผลิตภัณฑ์จำหน่ายขายให้กับกลุ่มตามแบบที่ตลาดต้องการหรือตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าสั่งเข้ามา



วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านบ้านเนินธัมมัง
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านบ้านเนินธัมมัง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านบ้านเนินธัมมัง อยู่อย่างพอเพียง สามารถหาผักหาปลาไว้บริโภคได้ โยการหาจากแหล่งน้ำลำคลองที่อุดมสมบูรณ์ วิถีชีวิตเรียบง่ายอยู่กับธรรมชาติ เนื่องด้วยพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำชาวบ้านจึงมีการประกอบอาชีพเพาะปลาขายเพราะมีน้ำไหลเวียนเป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีการทำการเกษตรอย่างผสมผสาน คือ การใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ ปลูกพืชได้หลายชนิด และไม่ใช้สารเคมีเพื่อเร่งโตเพราะมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านมีความรักความเอาใจใส่กันดูแลกันภายในหมู่บ้านมีความสามัคคีช่วยกันทำงานชุมชน